[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม














กลุ่มบริหารงาน








การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ







































แบบวัดการรับรู้ EIT
ส่วนเสียภายนอก (EIT)
(เพื่อให้ผู้รับบริการหรือติดต่อราชการ
มีโอกาสมีส่วนร่วมในการประเมิน
ITA ของหน่วยงาน)
Facebook โรงเรียน






link















คู่มือสถานศึกษาปลอดภัย
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 235 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้บทเรียนบูรณาการแบบ D2G กับการพัฒนาตามรูปแบบปกติ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนเน้นวิทยาศาสตร์ โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ

เจ้าของผลงาน : นายผจญภัย เครื่องจำปา
พุธ ที่ 20 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2560
เข้าชม : 542    จำนวนการดาวน์โหลด : 871 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่พัฒนาโครงงานตามบทเรียนบูรณาการแบบ D2G  กับคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่พัฒนาโครงงานตามรูปแบบปกติ  และ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มพัฒนาด้วยบทเรียนบูรณาการแบบ D2G  กับนักเรียนกลุ่มที่ใช้บทเรียนบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนพัฒนาโครงงานตามรูปแบบปกติ    
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น  2  กลุ่ม  โดยกลุ่มที่ 1  เป็นกลุ่มพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยบทเรียนบูรณาการแบบ D2G  ได้แก่  ปีการศึกษา 2558  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4  จำนวน  17  คน  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน  18  คน  ปีการศึกษา 2559  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  15  คน และปีการศึกษา 2560  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  15  คน   กลุ่มที่ 2  เป็นกลุ่มที่พัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบปกติ   ได้แก่
ปีการศึกษา 2558  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  17  คน  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน  17  คน   ปีการศึกษา 2559  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  15  คน  และ
ปีการศึกษา 2560  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  15  คน  ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  เวลาที่ใช้ในการทดลองปีการศึกษาละ  40  ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ครั้งนี้  คือ  บทเรียนบูรณาการแบบ  D2G  บทเรียนบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แบบประเมินคุณภาพของโครงงานวิทยาศาสตร์  ใช้แบบแผนการทดลองชนิดสองกลุ่มทดสอบก่อน และหลังการทดลอง  two  group  pretest – posttest  design   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติ t-test  แบบ  dependent  samples  และแบบ  independent  samples 
           ผลการวิจัยพบว่า
           1.  คุณภาพของโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่พัฒนาด้วยบทเรียนบูรณาการแบบ D2G  มีระดับคุณภาพสูงกว่าคุณภาพของโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่พัฒนาตามรูปแบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01
           2.  ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดจากการพัฒนาด้วยบทเรียนบูรณาการแบบ D2G  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 
           3.  ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่พัฒนาด้วยบทเรียนบูรณาการแบบ D2G  สูงกว่าหลังเรียนของนักเรียนที่พัฒนาด้วยรูปแบบปกติ   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 30/ก.ค./2565
      ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่อง โมเมนตัมและการชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1 โมเมนตัม 24/ก.ค./2565
      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาค 19/ก.ค./2565
      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม โดยใช้กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ การศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC. 13/พ.ค./2565
      พัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทเกม โดยใช้กระบวนการ ADDIE (เกมบิงโก) 25/มี.ค./2564


<